สถานที่ศึกษาในขณะนี้

กศน.ตำบลท่าทราย ศูนย์การเรียนรู้วัดชมภูเวก ยินดีต้อนรับ ติดต่อ 02 580 1235 หรือ Facebook https://www.facebook.com/nfetasai

แนวทางการพัฒนา


ทิศทาง กศน.ตำบลท่าทราย

วิสัยทัศน์

คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน อย่างน้อยปีงบประมาณละ 720 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม ดังนี้

1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย

1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 320 คน

1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จำนวน 20 คน

1.1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จำนวน 20 คน

1.1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน

1.1.5 กระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน

1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน

2. สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด

4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

5. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพ้นฐานให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกกิจกรรมอื่น ๆ นั้นจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ

6. ประสานและเชื่อมโยงาการดำเนินงานการจัดกิจกรรม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน. อำเภอ ที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ

7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในความรับผิดชอบตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอ ที่สังกัด

8. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

9. ปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด



การดำเนินการกิจกรรม 4 ศูนย์ กศน.ตำบลท่าทราย



1) ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information center)

1.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูและสารสนเทศระดับชุมชน ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยโดยใช้แบบเก็บข้อมูลของสำนักงาน กศน. จัดเก็บข้อมูลครบถ้วน เป็นปัจจุบัน ประมวลผลเป็นรายหมู่บ้าน จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ และนำมาใช้ในการบริหารจัดกิจกรรม กศน.

1.2 จัดทำแผนพัฒนการจัด กศน. ตำบล และแผนปฏิบัติการประจำปี นำเสนอแผนต่อคณะกรรมการ กศน. ตำบล และภาคีเครือข่าย และเสนอแผนให้ ผอ.กศน. อำเภอเมือง และคณะกรรมการ กศน.ตำบลบางท่าทราย พิจารณา อนุมัติ

1.3 เสนอความรู้ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศของชุมชน ถูกต้องและทันสมัยโดยเสนอข้อมูลสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่นข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งเรียนรู้ในชุมชนการตลาดชุมชน สินค้าชุมชน ฯลฯ จัดทำข้อมูลสารสนเทศเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร แผนภูมิ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)

2.1 ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย โดยประสานงาน/วางแผนร่วมกับภาคีเครือข่าย ในชุมชน เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน อบต. สถานีอนามัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. อาสาสมัครส่งเสริมรักการอ่าน วัด โรงเรียน ฯลฯ เพื่อจัดกิจกรรมบริการชุมชน รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ของภาคีเครือข่าย ในการจัดการเรียนรู้

2.2 เชื่อมโยงรูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาคีเครือข่าย กับ กศน. ตำบลโดย ส่งเสริมและจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix it center) (สอศ.) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน (กระทรวงไอซีที) มุมวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (สสวท.) บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ธนาคารเคลื่อนที่ การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเคลื่อนที่ ฯลฯ พัฒนารูปแบบกิจ+กรรมที่หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพื่อสร้างโอกาส การเรียนรู้ให้กับประชาชน

2.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร โดยจัดทำเว็บไซด์ กศน.ตำบลใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการติดต่อกับผู้เรียน/ผู้รับบริการ สืบค้น รวบรวมและการเผยแพร่ข้อมูล ทางอินเตอร์เน็ต และแหล่งข้อมูลอื่นๆ

3 ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)

3.1 ออกแบบกิจกรรม / โปรแกรมการศึกษา ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายโดย กศน.ตำบลท่าทราย กศน.อำเภอเมืองนนทบุรี ร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในการออกแบบกิจกรรม / โปรแกรมหรือโครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน กิจกรรม / โปรแกรม หรือโครงการมีลักษณะที่บูรณาการระหว่างวิถีชีวิต การทำงานและการเรียนรู้

3.2 จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนตำบลท่าทราย

3.2.1 ส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยจัดทำแผนการแก้ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ในตำบลท่าทราย อย่างชัดเจน จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 – 59 ปี เป็นลำดับแรก

3.2.2 การศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำแผนยกระดับการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เช่น ผู้เรียนที่ออกกลางคัน เด็กเร่ร่อน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ กลุ่มผู้ย้ายถิ่น ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มอาชีพประชากรวัยแรงงาน เป็นต้น วางแผนการจัดการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานผลการดำเนินงาน

3.2.3 การศึกษาต่อเนื่อง

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการ จัดการศึกษาต่อเนื่องประเภทการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพเป็นลำดับแรกโดย จัดทำแผนจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ/หลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชนโดยเน้นการเพิ่มทักษะทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่และอาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดทำแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการ ความจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน เช่น การป้องกันสาธารณภัย สุขภาพอนามัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณธรรมจริยธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จัดทำแผนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนใช้รูปแบบ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสม เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย จัดกระบวนการเรียนรู้ในการเป็นพลเมืองดีของชุมชน สังคม ของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ เศรษฐกิจชุมชน และการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจัดการศึกษาต่อเนื่องโดยใช้หลักสูตรบูรณาการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.2.4 การศึกษาตามอัธยาศัย

การส่งเสริมการอ่าน จัดทำแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในรูปแบบต่างๆ เช่น อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน กระเป๋าความรู้สู่ชุมชน หีบหนังสือสู่หมู่บ้าน จุดบริการการอ่านชุมชน มุมอ่านหนังสือที่ท่ารถ ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม สถานีอนามัย เป็นต้น

จัดบริการสื่อ จัดบริการสื่อประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมและหลากหลาย เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ (นสพ.) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาธิต สื่อทดลอง เป็นต้น บริการ Student Channel เพื่อเสริมศักยภาพให้กับโรงเรียนดีประจำตำบล บริการการศึกษาทางไกล (ETV) ให้กับนักศึกษา กศน. และประชาชนทั่วไป

4. ศูนย์ชุมชน (Community Center)

จัด กศน. ตำบลท่าทราย เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชนเช่น เวทีชาวบ้าน สภากาแฟ สถานที่พบปะเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลาดนัดอาชีพ กิจกรรมศาสนา วัฒนธรรม เวทีประชาธิปไตย กีฬา ฯลฯโดยครู กศน.ตำบลเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ทั้ง อบต. อบจ. เทศบาล ตลอดจนภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งอาสาสมัคร ในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชน ผู้นำท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้





นโยบายเร่งด่วน



1. การเยียวยาและฟื้นฟูหลังวิกฤตอุทกภัย

1.1 ให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อการป้องกันภัยพิบัติ การจัดการแก้ปัญหาในกรณีที่ประสบภัยพิบัติสำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง

1.2 จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพ ให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทั้งในการพัฒนาอาชีพเดิม การแสวงหาอาชีพเสริม และการสร้างอาชีพใหม่ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานเพื่อส่งเข้าสู่ระบบการผลิตอุตสาหกรรมตามเดิม

1.3 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อขอรับการสนับสนุนในการซ่อมแซมและฟื้นฟูให้มีความพร้อมสำหรับให้บริการประชาชนต่อไป

1.4 ให้มีการเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่ที่อาจประสบภัยในลักษณะอื่นใดด้วยอาทิ วาตภัย ดินถล่ม อัคคีภัย ภัยจากอากาศหนาว ภัยแล้ง โดยจัดให้มีการจัดทำแผนสำรองภาวะฉุกเฉินและมีการซ้อมการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยต่างๆ

1.5 เร่งจัดบริการเพื่อเยียวยาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนโดยจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องดำรงชีพขั้นพื้นฐาน และที่พักอาศัยชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัย





2. การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

2.1 เร่งเสนอจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัดในทุกจังหวัด โดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดทิศทาง อำนวยการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริมสนับสนุนและบูรณาการการดำเนินงานการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของจังหวัด

2.2 เร่งสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการด้านการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการด้านแรงงาน สินค้า และบริการ รวมทั้งศักยภาพของพื้นที่ ทั้ง ๕ ด้าน กล่าวคือ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเล ที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดหลักสูตรอาชีพตาม ๕ กลุ่มอาชีพหลักกล่าวคือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และบริหารจัดการและบริการ

2.3 เร่งพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัดการศึกษาอาชีพแนวใหม่ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถสร้างอาชีพหลัก ที่มั่นคงให้กับผู้เรียนโดยสามารถสร้างรายได้ได้จริงทั้งในระหว่างเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และสร้างความสามารถเชิงการแข่งขันให้กับชุมชน

2.4 จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพในทุกอำเภออย่างน้อยอำเภอละ ๒ แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการฝึก พัฒนา สาธิต และสร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชน รวมทั้งเป็นที่จัดเก็บแสดง จำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการของชุมชนอย่างเป็นระบบครบวงจร

2.5 ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของหน่วยงานและสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชนและชุมชนในจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระหว่างจังหวัด

2.6 จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ สำหรับเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับผู้เรียน

2.7 จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่ทั้ง ๕ ด้าน





3. เร่งรัดจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน

3.1 เร่งพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง

3.2 เร่งพัฒนาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ทันสมัย ครอบคลุมตามโครงสร้างหลักสูตร นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ได้มาตรฐานทั้งความรู้สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดทำในรูปแบบสื่อเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณภาพ และเผยแพร่ให้สถานศึกษาในสังกัดอย่างทั่วถึง

3.3 ส่งเสริมให้ กศน.อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งผลการเรียนอย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง

3.4 พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรมตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ



4. เร่งรัดการจัดระบบความรู้สำหรับประชาชน

4.1 รณรงค์ส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเพื่อเป็นวิธีการในการแสวงหาความรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

4.2 เร่งพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนและประชาชนให้สามารถอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.3 พัฒนาหนังสือและสื่อที่มีเนื้อหาสาระจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และหนังสือดีมีคุณภาพในการพัฒนาความรู้สำหรับประชาชนในชุมชน



















นโยบายต่อเนื่อง


1.นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ

1.1 จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2) จัดหาตำรางเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน. ให้การับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตำราเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำราเรียนอย่างเท่าเทียมกัน

3) ขยายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ

4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน. ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน

5) จัดให้มีวิธการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติทีดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 การส่งเสริมการรู้หนังสือ

1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน

2) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครื่องมือดำเนินงาน สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

3) เพิ่มศักยภาพครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ

4) มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ สำหรับให้ประชาชนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้

5) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ



1.3 การศึกษาต่อเนื่อง

1) มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ใน 5 กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอำนวยการอาชีพเฉพาะทางที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ได้จริง

2) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ควารมสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน

3) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนโดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมการประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี เศรษฐกิจชุมชน การอนุรักษ์พัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

4) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

1.4 การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

1) เร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐานของหลักสูตร

2) พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนได้อย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการเรียนการสอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล

3) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมาย

4) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่น ๆ ประกอบหลักสูตรโดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน

5) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพและความต้องการกลุ่มเป้าหมายและชุมชน

6) มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

7) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลางใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.5 การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

1) เร่งรัดให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐานโดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง

2) เร่งรัดให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยต้นสังกัดให้ผ่านการประเมินคุณภาพภายใน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

3) เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน. ที่มีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ. กำหนดโยปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพ ภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

4) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน สมศ. ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

2. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

2.1 การส่งเสริมการอ่าน

1) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้ระดับอ่านคล่อง เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการปฏิรูปการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

2) พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่านเกิดขึ้น ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝัง และสร้างเจตคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่าน ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม และกำหนดมาตรการจูงใจเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน

3) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอ่านในส่วนภูมิภาค

4) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล

5) ส่งเสริมให้มี “นครแห่งการอ่าน” ในจังหวัดที่มีความพร้อมเพื่อสร้างเสริมบทบาทของการส่งเสริมการอ่าน

2.3 วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

1) พัฒนาและจัดทำนิทรรศการ มหกรรมวิทยาศาสตร์สัญจร และจัดกิจกรรมที่เน้นการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ ปลูกจิตสำนึกทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

2) เชื่อมโยงการะบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนโดยเน้นวิทยาศาสตร์ชุมชนให้ผู้รับบริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้การพัฒนาอาชีพ สิ่งแวดล้อม

3) ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศให้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้รับบริการ

4) ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้มีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย สามารถปลูกฝังให้ผู้รับบริการมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

5) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อเป็นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

6) พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการดศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงวิชาการแห่งจุดประกายการพัฒนาอาชีพ และแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น

3. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน

3.1 พัฒนา กศน.ตำบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน

1) จัดหาครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมกับ กศน.ตำบล/แขวง ให้ครบทุกแห่งเพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนได้ทันเวลา

2) จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ เทคโนโลยี ที่มีคุณภาพในรูปแบบและสาระที่หลากหลาย ทันสมัย ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและครอบครัว การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาชุมชน และการสร้างความบันเทิง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความสุขในชีวิตให้กับประชาชนในชุมชน

3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัยสร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยจัดให้มีการจัดการศึกษาผ่านทีวีสาธารณะ การฝึกอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การป้องกันภัยพิบัติ การศึกษาการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความจำเป็นเร่งด่วนต่าง ๆ ของแต่ละชุมชน

4) เร่งรัดให้ กศน.ตำบล/แขวง จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มีกลุ่มส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่าน โดยใช้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นกลไกลในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่าง ๆ ในชุมชน โดยดำเนินงานเป็นทีมร่วมกับครู กศน.ตำบล/แขวง

5) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพการรู้หนังสือและความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชากรวัยแรงงาและผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ทันความต้องการ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว

6) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตำบล/แขวง เพื่อการประสานเชื่อมโยงและส่งต่อผู้เรียนให้ได้รับบริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

7) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผล กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน. ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง และจัดให้มีการรายงานต่อ สาธารณะ รวมที้งนำผลมาพัฒนาการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง

8) กำกับและติดตามให้ กศน.ตำบล/แขวง ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน การดำเนิน กศน.ตำบล/แขวง

3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ

1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยจำแนกตามระดับความพร้อมในการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ และระดับการมีส่วสนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย

2) พัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อมีงานทำอย่างมีคุณภาพ

3) ให้หน่วยงานและสถานศึกษา ประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และภารกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการเป็นกลไกสำคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน



3.3 อาสาสมัคร กศน.

1) ส่งเสริมให้ผู้จิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการ บำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามีบทบาทในจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัด สำนักงาน กศน.

2) ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัด และผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ

3) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่าง ๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

3.4 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน

1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชน จัดเวทีชาวบ้าน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหา

3) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนในเชื่อมโยงกับหลักสูตรต่าง ๆ ของ กศน. โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพและการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริงเพื่อประโยชน์ในการมีงานทำลากรเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

4) ส่งเสริมให้มีขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนในการถ่ายทอด องค์ความรู้โดยให้มีการจัดทำและเผยแพร่สื่อเพื่อการธำรงรักษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน

5) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน

4. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ

4.1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1) ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเนื่องจากพระราชวงศ์อย่างมีคุณภาพและเกิดผลโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

2) จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน.ตำบล ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

4.2 การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

1) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้สัญชาติ เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เด็กด้อยโอกาส คนเร่ร่อน คนไทยในต่างประเทศ

2) จัดและส่งเสริมการเรียนรู้และใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์

3) จัดการศึกษาที่เน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน

4) พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการและกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม

5) ศึกษาวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

6) พัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในการปฏิบัติงานของครูที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายพิเศษ

5. นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

5.1 พัฒนาสถานีวิทยุศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ทีมีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยชายการรับฟังให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

5.2 พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยขยายการรับฟังให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

5.3 พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดยรวมสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และสถานีTeacher TV เพื่อเพิ่มช่องทางให้สามารถรับชม ได้ทั้งระบบ C – Band และ Ku – Bandพร้อมที่จะรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free ETV)

5.4 พัฒนารายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศ

5.5 เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกลุ่มเป้าหมายมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพโดยจัดให้มีการผลิตรายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)และสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ

5.6 ผลิตและเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเพื่อคนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาทางเลือก

5.7 ผลิตและเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเพื่อคนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาทางเลือก

5.8 พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ เช่น DVD, CD, VCD และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้บริการได้ตามความต้องการ

5.9 สำรวจ วิจัย และติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง